รู้จักการฟาร์มแบบ leverage farming
รู้จักการฟาร์มแบบ leverage farming
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "TVL Market Blockchain 1.6 627M TOP LEVERAGE FARMING PLATFORMS ALPHA Alpha ALPHA Alpaca ALPHA TVL Market Cap Blockchain 1.8Ð 139 日! ? ? ALPHA Token Holder Incentive Alphaolfde Stake Alphato unique Token Holder Incentive Lend cryptomind ALPACA M BOR bMXX BNB 5% BUSD Max Leverage 3X Leverage BELT APR 22% BUSD 8% Max Leverage 6X earn rewards Lend Defipulse Coingecko Updated 2021"

วันนี้จะมาแนะนำให้รู้จักการฟาร์มแบบ leverage farming ถือเป็นอีกเลเวลของการฟาร์มเพราะต้องมีความเชี่ยวชาญระดับหนึ่ง ต้องคอย monitor position value ของตัวเองเพราะไม่งั้นเงินที่เราฟาร์มอาจจะสูญเสียไปเป็นจำนวนมากได้ และการสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดจาก impermanent loss แต่อย่างใด แต่เกิดจาก liquidation

ซึ่งในแพลตฟอร์ม leverage farming มีอยู่ 2 เจ้าใหญ่ๆเลยคือ 1.Alpha Finance Lab 2.Alpaca Finance ก่อนไปแนะนำตัวแพลตฟอร์มมาเข้าใจเรื่องพื้นฐานของการฟาร์มแบบ leverage กันก่อน

นิยามอย่างง่ายของ leverage farming คือการที่เรากู้เงินบนแพลตฟอร์มใดก็ตามมาฟาร์มนั่นเอง ซึ่งเราจะมีภาระที่ต้องผ่อนจ่ายคือดอกเบี้ยเงินกู้ และถ้าเงินต้นที่เราใช้ค้ำเพื่อกู้เงินออกมาต่ำกว่าที่กำหนดก็จะถูกริบเงินจ่ายคืนแพลตฟอร์มเรียกว่าการ liquidation แต่ข้อดีของการฟาร์มแบบนี้ก็คือทำให้เราสามารถฟาร์มด้วยเงินในจำนวนที่มากขึ้นได้ เสมือนการได้ผลตอบแทนต่อปี (%APY) ที่สูงขึ้นถ้าเทียบจากเงินต้นของเรา

วิธีการฟาร์มแบบละเอียด

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆเมื่อเรามีเงินอยู่ 100 ETH และกำลังหาที่ฟาร์มดีๆที่ Uniswap pool คู่เหรียญ ETH-USDT ได้ผลตอบแทน 30% ต่อปี แต่เราเกิดไม่พอใจ %APY นี้และต้องการ %APY ที่สูงกว่านี้เราก็ต้องหาฟาร์มใหม่เท่านั้น

แต่ถ้าเราฟาร์ม Uniswap ผ่าน Alpha Homora platform(ในที่นี้คือ Alpha Homora integrate กับ Uniswap) เราจะสามารถกู้ผ่าน Alpha Homora Bank ได้ทันทีเพื่อฟาร์มแบบ leverage ถ้าเราเลือกที่ 2.5x หมายความว่าเราจะฟาร์มที่มูลค่า 100*2.5 = 250 ETH จากเงินต้น 100 ETH ถ้าคิดตรงๆทำให้เราได้ APY สูงถึง 30%*2.5 = 75% แต่การที่เรากู้มาเราต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยเพราะฉะนั้น

ผลรวมของ %APY = 75% – % ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่าย

แต่ไม่ต้องห่วงพวกนี้เราไม่ต้องคำนวณเองกดคลิ๊กที่ Pool แล้วดูบรรทัดสุดท้ายได้เลยตัวแพลตฟอร์มจะคำนวณ %APY สุทธิมาให้เราแล้ว

ข้อควรระวัง คือ การเกิด Liquidation

ผลตอบแทนที่มากขึ้น แน่นอนว่าต้องตามมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้น..เราต้องคอย monitor ไม่ให้ debt ratio เกินกว่า killFactor เพื่อไม่ให้เกิด liquidation เพราะฉะนั้นเราต้องคอย monitor ตัว position value เราตลอด และ killFactor แต่ละแพลตฟอร์มหรือแต่ละ pool อาจจะไม่เหมือนกันทั้งชื่อเรียก และ % ที่กำหนดเพราะฉะนั้นเราต้องดูข้อกำหนดดีๆ

สรุป

– ค่า Debt ratio มากกว่า killFactor ผลคือโดนริบเงิน (Liquidation)

– ค่า Debt ratio น้อยกว่า killFactor ผลคือรอดยังฟาร์มต่อได้

วิธีคำนวณแบบละเอียด

Pool ETH-USDTสมมุติ killFactor = 80%, ETH = 2 USDT

เริ่มแรกเราวาง pool ด้วยเงิน 100 ETH และเลือก leveraged 2.5x จะทำให้เรามี position value = 100*2.5 = 250 ETH และเกิดหนี้(debt) = 250 – 100 = 150 ETH

แสดงตัวเลขให้เห็นภาพชัดขึ้น

1. เริ่มวาง Pool 50 ETH : 100 USDT

2. เลือก leverage

2.5 ระบบไปกู้มา 150 ETH >> แล้วมาแบ่งเป็น 75 ETH: 150 USDT

3. Position value = 50 ETH + 75 ETH : 100 USDT + 150 USDT >> 125 ETH : 250 USDT (Position นี้มี value 250 ในหน่วย ETH)

4. ระบบคำนวณ debt ratio = หนี้ที่กู้มา/position value >> 150/250 = 60%

5. เปรียบเทียบ debt ratio VS killFactor 60% < 80% เพราะฉะนั้นไม่เกิด liquidation

กระบวนการทั้งหมดนี้จะเป็นการคำนวณหลังบ้านของแพลตฟอร์มเอง หน้าที่เราแค่ฟาร์มและเลือก leverage ที่รับความเสี่ยงได้ การที่เราเลือก leverage สูงคล้ายๆกับการที่เราเลือก short ETH

Tips: จุดสำคัญคือเราต้องดูว่าเรากู้อะไรมา บางแพลตฟอร์มอาจเปิดให้กู้มากกว่า 1 สินทรัพย์ได้ เช่น Alpha Homora V2, Alpaca ถ้าเรากู้สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงในจังหวะที่สินทรัพย์นั้นขึ้นมากๆจำนวนหนี้ของเราในมูลค่า USDT จะสูงขึ้น

การฟาร์มส่วนใหญ่คือการที่เราต้องวางสินทรัพย์ 2 ฝั่งเสมอเช่น BTC-ETH ยิ่งสินทรัพย์ฝั่งที่เรากู้ราคาตกลงยิ่งดี และยิ่งสินทรัพย์ฝั่งที่เราไม่กู้ราคาสูงขึ้นยิ่งดีเพราะเท่ากับ debt ratio เราจะลดลงนั่นเอง

มาถึงการแนะนำ product และ feature ของแต่ละแพลตฟอร์มกันบ้างโดยทั้ง Alpha และ Alpaca จะแบ่ง user เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. Farmer คนที่มากู้เหรียญไปทำฟาร์ม

2. Lender คนปล่อยกู้เหรียญ

3. Liquidator กับ Bountyhunter ของแพลตฟอร์ม Alpaca จะใช้ bot

Alpha Finance Lab

เป็นผู้บุกเบิก leverage farming โดยเริ่มจากให้บริการแพลตฟอร์มบน ETH chain แต่ปัจจุบันมี product มากถึง 3 อย่าง คือ Alpha Homora (ETH Chian V1), Alpha Homora (BSC Chain) และ Alpha Homora (ETH Chain V2) และ กำลังจะออก product ใหม่ชื่อว่า AlphaX

โดยที่แต่ละ product จะมีหลักการใช้งานคล้ายๆกัน และ parameters พวกนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตรวจสอบให้ดีก่อนฟาร์ม! โดยเฉพาะ killFactor แต่ละ pool ไม่เท่ากันให้เช็คในแพลตฟอร์มหรือใน doc มันก่อน แต่ที่จะแนะนำในโพสนี้คือ Alpha Homora (BSC Chain) เพราะเชื่อว่าหลายคนคงสู้ค่าธรรมเนียมฝั่ง ETH ไม่ไหว

รายละเอียด Alpha Homora (BSC Chain)

– Max leverage = 3x (กู้ได้สูงสุด 3 เท่า)

– Liquidators ได้รับ 1% ของ position value ที่ปิดได้

– Lender รับเฉพาะ BNB- Bounty hunter ได้รับ 0.3% ของ total reward

Alpaca Finance

เป็น leverage farming ฝั่ง BSC ตัวแรกที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จากที่ช่วงแรกมีการแจก reward จำนวนมาก และหน้าตาเว็บที่ค่อนข้างใช้ง่ายปัจจุบันมี features การใช้งานเพิ่มมาเรื่อยๆ และมีจุดเด่นคือรองรับการกู้/ยืม Lending/Borrowing มากกว่า 1 สินทรัพย์

– Max Leverage = 6x (กู้ได้สูงสุด 6 เท่า)

– Lender รับ Alpaca, BNB, ETH และ BUSD

About this author

แบ่งปันเรื่องราว ข่าวสารการลงทุน DeFi ของผม ในช่วงที่ว่างจากการเลี้ยงลูก
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on telegram
Telegram
Share on email
Email
more articleS
© 2019 BITCOINADDICT | ALL RIGHTS RESERVED