ทำความรู้จัก Balancer V2  และ วิธีการฟาร์มเบื้องต้น
ทำความรู้จัก Balancer V2 และ วิธีการฟาร์มเบื้องต้น

ทำความรู้จักกับ Balancer 

Balancer คือ Decentralized Exchange รูปแบบหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถทำการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเหรียญได้ซึ่งถ้าเกิดทำได้แค่นี้คงไม่น่าสนใจเท่าไหร่เพราะมีหลายแพลตฟอร์ม DeFi ที่ทำแบบเดียวกัน 

แต่!! จุดที่น่าสนใจของ Balancer มันอยู่ที่รูปแบบของการใช้งานที่มีการเสนอ Index Fund หรือ กองทุนรวมที่พ่วงเข้ามาด้วย ซึ่งถ้าเป็น DeFi อื่นๆจะมีข้อจำกัดเรื่องของ Pool ที่เป็นคู่สองเหรียญในมูลค่า 50 : 50 เท่านั้น แต่ใน Balancer เราจะสามารถสร้าง Pool ที่มีเหรียญได้ถึง 8 เหรียญด้วยกันและสามารรถแบ่งสัดส่วนของเหรียญ Weight balance ที่เราต้องการเองได้ทำให้มีความยืดหยุ่นในการวางแผนการลงทุนและมีอิสระมากกว่า DeFi ตัวอื่นๆเปรียบเสมือน ETF ที่เราสามารถกระจายการลงทุนได้โดยอาจจะนำ Asset อย่าง ETH, BTC ที่ถือไว้เฉยๆนั้นนำมาฝากไว้กับ Balancer ซึ่งก็จะทำให้ Asset ของเรากลายเป็น Productive asset ที่สร้าง Yield ให้กับเราได้

Balancer V2 มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง

สำหรับจุดที่เปลี่ยนแปลงของ Balancer V2 นั้นนอกจาก UI ปรับให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิมแล้วยังมีอีกหลายส่วนที่ Balancer V2 นั้นเพิ่มขึ้นมาซึ่งเราจะลงรายละเอียดกัน

(จะมีบางฟังชั่นที่ยังไม่ Active คาดว่า Balancer v2 นั้นกำลังพัฒนาอยู่และจะนำเข้ามาในอนาคต และตอนนี้อยู่ในระหว่างการ migrate จาก V1 ไป V2)

สิ่งสำคัญของการอัพเดท Balancer V2 

Protocol Vault

คือ ฟังชั่นที่จะนำ liquidity pool ทุกอันที่มีอยู่ใน platform มารวมอยู่ใน Vault เดียวกันซึ่งการทำแบบนี้ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถลดค่าธรรมเนียมเมื่อเราต้อง Swap คู่เหรียญที่ต้องการ liquidity จากหลายๆพูลเพื่อที่จะทำให้เรานั้นได้ราคาที่ดีที่สุดจากการ Swap เพียงครั้งเดียว แทนที่จะต้องวิ่งหาหลาย contract และเปลืองค่าแก๊ส(แต่ถ้าใช้ Polygon Chain ก็อาจจะไม่แตกต่างมาก)

และนอกจากนี้ยังมีระบบที่เรียกว่า Internal Token Balances คือ ระบบที่ทำให้ผู้ใช้งานนั้นสามารเก็บยอดคงเหลือไว้บนแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นการ Swap ตามปกติแล้วเมื่อทำการแลกเปลี่ยนโทเคน A เป็นโทเคน B เราก็จะได้รับโทเคน B ทันที ทำให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหลายรอบ(แต่ผมลองแล้วยังไม่มีนะ swap แล้วเข้ากระเป๋าเลย อาจจะต้องรออัพเดทอีกที)

Customizable AMM Logic

Balancer พยายามปรับให้ตัว Auto Market Marker(AMM) ให้มีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยลูกเล่นที่ Balancer ตั้งใจจะเพิ่มมาหลักๆคือ การปรับค่าธรรมเนียมอัตโนมัติ(Dynamic fee) และการปรับสัดส่วน Pool อัตโนมัติ(Dynamic-Weight pool) และนอกจากนั้นทีมงานยังมีแผนจะเพิ่มฟังก์ชั่น Asset Manager หรือให้มีคนมาบริหาร Liquidity ใน Pool ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกด้วย

  • Dynamic-Fee Pools Powered by Gauntlet

คือ การจัดสรรค่าธรรมเนียมที่จะได้รับของคนที่ provide liquidity – สินทรัพย์แต่ละตัวนั้นจะมีความเสี่ยงความผันผวนของราคาที่แตกต่างกัน ทำให้จะถูกพิจารณา Fee ที่แตกต่างกันรวมถึงจะประเมินจากสภาวะตลาดร่วมด้วยเช่นกัน(ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงของสินทรัพย์ในที่นี้คือ Gaunlet)

  • Dynamic-Weight Pools Powered by PowerPool

Balancer ร่วมมือกับ PowerPool ในการออกแบบกลยุทธในการปรับ Weight ของ Pool ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากเดิมที่ จากเดิมที่เคยมี Smart ETF Pools แล้วใน V2 จะมีโมเดลที่เพิ่มประสิทธิภาพในการปรับ Weight Pool เพิ่มอีก

  • Asset Manager 

ปกติแล้วหากเป็นการวาง Provide liquidity ตามปกติแล้วสินทรัพย์ที่เราวางนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ตลอดเวลา ลองนึกตัวอย่างง่ายๆถ้ามี LP วางอยู่ในระบบ 300 ล้านดอลลาร์แต่มีผู้ใช้งานแค่ 10 คน LP ที่วางไว้แทบไม่ได้ใช้อย่างเต็มที่

Asset Manager คือ ตัวที่ช่วยนำสินทรัพย์ของเราที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนนั้นนำไปใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจจะมีการไปปล่อยกู้กับทาง Aave หรือที่อื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะส่งผลดีกับผู้ที่ Provide liquidity ไว้คือดอกเบี้ยหรือกำไรที่เพิ่มมากขึ้น

มีการใช้งาน Oracle ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

การใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก Oracles ต่างๆในการอ้างอิงราคาสินทรัพย์นั้นย่อมเกิดค่าใช้จ่าย ทำให้ Balancer v2 จะมีการแบ่งประเภทส่วนของการใช้งานว่าส่วนไหนต้องการข้อมูล Real time มากก็จะมีการ feed ราคาให้มีความถี่ตามความเหมาะสม แบบนี้จะทำให้เกิดค่าธรรมเนียมที่ถูกลง

เริ่มทำฟาร์มบน Balancer

สำหรับการทำฟาร์มบน Balancer นั้นในตอนนี้สามารถทำฟาร์มได้อยู่บน 2 chain หลักคือ Ethereum chain และ Polygon Chain 

Step 1 : เชื่อมกระเป๋าเข้ากับแพลตฟอร์ม

Step 2 : เลือกฟาร์มที่ต้องการจะฟาร์ม โดยในตัวอย่างนั้นจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างฟาร์ม

จาก Polygon และ Ethereum ปัจจุบัน APR ของ Stable coin ของ Polygon อยู่ที่ประมาณ 20%

Step 3 : เมื่อเลือกฟาร์มเสร็จเรียบร้อยจะเข้าสู่หน้าต่างของ Pool ที่เราเลือก ข้อดีของ Balancer คือ เราไม่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยน Token เพื่อที่จะมาวาง liquidity ตามจำนวนที่วางไว้ เราสามารถที่จะถือ 1 Token นั้นมาวางแล้ว Balancer นั้นจะสามารถ weight pool ให้เราได้เลย 

สำหรับการ Withdraw นั้นเราสามารถทำได้ที่หน้านี้เช่นกัน และ เรายังสามารถที่จะถอนเป็น asset เดียวได้เช่นกันแต่ต้องระวังเรื่องของค่าธรรมเนียมที่จะมีการเก็บเพิ่มจากการที่เราไม่ได้ถอนตาม weight ของ pool นั้นๆ 

*สำหรับผลตอบแทน %APR มาจากสองส่วนคือ Trading Fee และ reward จาก Gov Token คือ BAL ลองเอาเมาส์ไปชี้ตรงดาวหลังโลโก้เหรียญได้มันจะแยกบอกแต่ละส่วน

*แต่มีจุดที่ต้องระวังในการฝาก และถอนแบบ Single Asset คือยิ่ง Asset ที่เราถอนออกมาทำให้สัดส่วนของ Pool มีค่าแตกต่างจากสัดส่วนที่ Pool นั้นกำหนดมากเท่าไหร่จะทำให้เราโดนค่าธรรมเนียมมากขึ้นเท่านั้น(ระบบจะมีบอกก่อนเราโดนกี่เปอร์เซ็น)

*สังเกตมุมบนซ้ายถ้ามีโลโก้ Gauntlet อยู่แสดงว่า Pool นี้มีการทำ Dynamic Fee

เปรียบเทียบระหว่าง Stablecoin Pool

สำหรับฟาร์มบนฝั่งของ Ethereum chain 

  • DAI / USDC / USDT : 9.52% APR

ฟาร์มบนฝั่งของ Polygon chain 

  • USDC / DAI / mMATIC / USDT : 20.37% APR

อ้างอิง

Introducing Balancer V2: Generalized AMMs :

https://medium.com/balancer-protocol/balancer-v2-generalizing-amms-16343c4563ff

The Most Flexible and Efficient AMM is Live — Meet Balancer V2 :

https://medium.com/balancer-protocol/the-most-flexible-and-efficient-amm-is-live-meet-balancer-v2-2451a22779b3

About this author

แบ่งปันเรื่องราว ข่าวสารการลงทุน DeFi ของผม ในช่วงที่ว่างจากการเลี้ยงลูก
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on telegram
Telegram
Share on email
Email
more articleS
© 2019 BITCOINADDICT | ALL RIGHTS RESERVED